สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานสูงนั้น ภาครัฐได้มีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและเท่าที่จำเป็น และสนับสนุนวิธีการหรือมาตรการที่สามารถลดการสูญเสียพลังงานลงได้
มุ่งเน้นที่จะให้มีการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ สูงและลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าตามสายส่ง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดของผู้บริโภคและสร้างจิตสำนึกในการ บริโภคพลังงาน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาคารที่สนใจ เช่น อาคารพลังงานศูนย์ที่สิงคโปร์ ซึ่งสามารถอ่านจาก บทความของ คุณ วิญญู วานิชศิริโรจน์
อาคารนี้วงการสถาปนิกสิงคโปร์ถือว่าอาคารนี้เป็นตัวอย่างของอาคารระดับชั้นยอดด้านประหยัดพลังงาน อีกทั้งเป็นอาคารเชิงทดสอบทดลอง โดยมีการนำเทคโนโลยีด้านประหยัดพลังงานเกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้สร้างอาคารหลังนี้ ทั้งนี้สถาปนิกผู้ออกแบบเน้นให้อาคารใช้พลังงานจากธรรมชาติโดยตรงให้มากที่สุด
สิ่งแรกที่อาคารนี้แสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นสุดยอดของอาคารประหยัดพลังงานนั่นก็คือ การตั้งชื่ออาคารนี้ว่า Zero Energy Building หรือ อาคารไม่ใช้พลังงาน หรือ อาคารพลังงานศูนย์2
ส่วนตัวอาคารนั้นดัดแปลงจากอาคารเรียนเก่า นำมาปรับปรุงเป็นห้องนิทรรศการ ห้องเรียนและสำนักงาน เป็นการนำโครงสร้างอาคารเก่ามาใช้งานซ้ำ เข้ากับแนวคิดอาคารเขียวคือการรียูสของเดิมมาใช้ใหม่ลดขยะจากการก่อสร้าง ชั้นล่างถูกออกแบบเป็นโถงนิทรรศการที่จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอาคารหลังนี้ ส่วนที่เหลือจัดเป็นห้องเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมทั้งห้องทดสอบทดลองเรื่องเกี่ยวกับอาคารประหยัดพลังงาน ส่วนชั้นสองและสามเป็นพื้นที่ทำงาน ห้องประชุม และห้องเรียน
อีกอาคารที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ คืออาคาร Energy Complex ซึ่งอาคารนี้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานของไทยเป็น ที่ LandMark สำคัญของกรุงเทพมหานคร และเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวความคิดตัวรูปลักษณ์ของอาคารที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรด้านพลังงาน กำหนดรูปผังอาคารให้มีลักษณะผิวโค้ง คล้ายหยดน้ำมัน 2 หยดหันเข้าหากัน ซึ้งความคิดนี้จะสะท้อนความสอดคล้องกับฮวงจุ้ย คือ รูปหยดน้ำมัน จะแสดงถึง หยิน-หยาง ที่ประสานความกลมเกลียวกัน
รูปแบบผังอาคารจึงเป็นทรงหยดน้ำมัน ในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ขององค์กรด้าน
การเลือกใช้วัสดุ Stalnless steel ถือเป็นแหล่งกำเนิดของธาตุน้ำ ผิวของอาคารที่เป็นผิวสะท้อน ถือเป็นการสะท้อนสิ่งไม่ดีออกจากตัวอาคาร
และแนวคิดมาจากรูปทรงของเปลวไฟซึ่งเป็นรูปทรงธรรมชาติ ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ในลักษณะพวยพุ่งขึ้นสู่ที่สูงแสดงถึงความเจริญโชติช่วงขององค์กร ทั้งยังมีประโยชน์โดยรูปผังอาคารซึ่งมีลักษณะผิวโค้งตามหลักอากาศพลศาสตร์(Aerodynamics) จะช่วยลดอุณหภูมิและความร้อนของ เปลือกอาคาร ทำให้เกิดความเย็นสบายต่ออาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ โดยได้มีการทดสอบอุโมงค์ลม เพื่อพิจารณาความดันลมที่จุดต่างๆของอาคารที่มีผังอาคารเป็นผิวโค้งภายใต้แรงลมที่กระทำทุกทิศทาง ทำให้การออกแบบผนังด้านนอกของอาคารมั่นใจได้ว่ามีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
โครงการนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิทยานิพนธ์ โดยดึงการออกแบบการอาคารที่ความเป็นLandMark การคำนึงถึงdetail ต่างๆที่ทำให้อาคารนั้นประหยัดพลังงาน ความโดดเด่นในการใช้วัสดุที่ตอบสะท้อนกับ Concept ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีความสำคัญ มากในการออกแบบ และ อาคารส่วนใหญ่นั้นจะเริ่มเน้นไปในด้านประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น