วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1



บทที่1 เป้าหมายโครงการ(Goals)

ในการกำหนดเป้าหมายโครงการนั้น จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้จัดวางไว้ โดยที่เป้าหมายโครงการนั้นสามารถจัดแบ่ง เป็น 4 กลุ่ม ตามปัจจัยในการพิจารณาทางสถาปัตยกรรม ดังนี้

1.1 เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Goals)
1.2 เป้าหมายโครงการด้านรูปแบบ (Form Goals)
1.3 เป้าหมายโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Goals)
1.4 เป้าหมายโครงการด้านเทคโนโลยี (Technology Goals)

สำหรับโครงการ ศูนย์วิจัยบริษัทไทยออยล์ก็ได้มีการจัดทำเป้าหมายโครงการที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทั้ง 4 ด้านข้างต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1. เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Goals)

1.1.1.กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการ (User Target Group)
บริษัทไทยออยล์ มีความต้องการในด้านการใช้สอยของห้องปฏิบัติการ สำหรับเจ้าของโครงการและผู้ใช้สอยในอาคาร เพิ่มขึ้น เพื่อให้ พนักงานได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและผลิตลที่มีคุณภาพ  ซึ่งโครงการสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1)      กลุ่มผู้ใช้หลัก (Main User) : กลุ่มพนักงานและผู้บริหาร บริษัท
                                 - เข้ามาทำงาน
                             - เข้ามาใช้เป็นประจำ ในช่วงเวลาทำงาน  เดินทางมาใช้  
                               โครงการสะดวก

2)       กลุ่มผู้ใช้รอง (Sub User) : ผู้ที่มาศึกษาดูงาน และ ลูกค้า
                                                 - เข้ามาศึกษาดูงานวิจัยบริษัท และ มาทำธุรกิจกับบริษัท
                                                 - เข้ามาใช้บางช่วงเวลา

3)      กลุ่มผู้บริการ ( Service User)
                          - ดูแลและซ่อมบำรุงในโครงการ
                          - ทำงานประจำภายในโครงการใช้ระยะเวลาภายใน 
                            โครงการทั้งวัน

1.1.2.การกำหนดปริมาณผู้ใช้โครงการ
เนื่องจากโครงการมีลักษณะของการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการหาจำนวนผู้ใช้โครงการนั้นจะเป็นการหาในลักษณะของการแยกส่วนแต่ส่วน โดยจะใช้จำนวนของผู้ใช้สูงสุด เพื่อให้สามารถคำนวณพื้นที่ใกล้เคียงโครงการมากที่สุด โดยมีที่มาของข้อมูลในการหาจำนวนผู้ใช้จากองค์กรและกรณีศึกษาใกล้เคียง
ตารางที่ 1. 1แสดง จำนวนผู้ใช้โครงการประจำและระยะเวลาการใช้งาน

องค์ประกอบ
แผนก
ตำแหน่ง
จำนวน/คน
ระยะเวลาในการทำงาน

ส่วนองค์ประกอบหลัก
วิจัย
หัวหน้าวิจัย
1
7.30 น. -16.30 น.



พนักงานวิจัย
35
7.30 น. -16.30 น.



คนเดินเอกสาร
4
7.30 น. -16.30 น.

องค์ประกอบรอง
ห้องสมุด
บรรณารักษ์
1
7.30 น. -16.30 น.



ผู้ช่วยบรรณารักษ์
2
7.30 น. -16.30 น.

ส่วนบริหารโครงการ
สำนักงาน
ผู้บริหาร
1
7.30 น. -16.30 น.



รองผู้บริหาร
2
7.30 น. -16.30 น.
 

เลขานุการ
3
7.30 น. -16.30 น.



หัวหน้าแผนก
2
7.30 น. -16.30 น.



ผู้ช่วยหัวหน้า
4
7.30 น. -16.30 น.



พนักงาน
76
7.30 น. -16.30 น.



คนเดินเอกสาร
4
7.30 น. -16.30 น.


ประชาสัมพันธ์
พนักงาน
3
7.30 น. -16.30 น.


รักษาความปลอดภัย
ยาม
2
6.00 น. -18.00 น.

ส่วนบริการโครงการ
เครื่องกล
ช่างไฟฟ้า
1
7.30 น. -16.30 น.



ช่างเทคนิค
1
7.30 น. -16.30 น.



ช่างไอที
1
7.30 น. -16.30 น.


อาหารและเครื่องดื่ม
พนักงานร้านกาแฟ
2
7.30 น. -16.30 น.



คนทำอาหาร
2
7.30 น. -16.30 น.



พนักงานเสริฟ
2
7.30 น. -16.30 น.


ทำความสะอาด
พนักงานทำความสะอาด
4
6.00 น. -18.00 น.


คนสวน
คนดูแลสวน
4
6.00 น. -18.00 น.



รวม
155














1)  จำนวนผู้ใช้ห้องประชุมเอนกประสงค์ (Auditorium)
จากการเลือกขนาดของหอประชุมเพื่อรองรับกิจกรรมของบริษัท และจากกรณีศึกษาใกล้เคียง  ขนาดความจุของผู้เข้าชมในห้องประชุม โดยทั่วไปจะเรียกความจุเป็นจำนวนคนหรือจำนวนที่นั่ง โดยขนาดของของห้องประชุมแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ขึ้นอยู่กับจำนวนคนเป็นหลัก ส่วนประโยชน์ใช้สอยอาจแตกต่างกันบ้างดังนี้
-ห้องประชุมขนาดเล็ก ขนาด 35 - 750 คน
-ห้องประชุมขนาดกลาง ขนาด 750 - 2,000 คน
-ห้องประชุมขนาดใหญ่ ขนาด 2,000 คนขึ้นไป

ที่มา : พื้นฐานการออกแบบห้องประชุม : Michel Barron, Auditorium Acoustics and Architectural Design

ซึ่งจากโครงการเป็นการรองรับกิจกรรมและนันทนาการของบริษัทไทยออยล์   จึงเลือกใช้ห้องประชุมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก ซึ่งมีความจุไม่เกิน 750 คน ซึ่งจำนวนที่นั่งของห้องประชุมจะมาจากจำนวนผู้ใช้โครงการประจำเป็นหลัก

สรุป มีจำนวนผู้ใช้ในส่วนห้องประชุมอเนกประสงค์สูงสุด 750 ที่นั่ง




2)จำนวนผู้ใช้โถงต้อนรับและพักคอย
เป้าหมายจากจำนวนผู้ใช้โครงการประจำและจำนวนผู้ใช้โครงการชั่วคราวในช่วงเวลาที่ใช้ส่วนโถงต้อนรับมากที่สุด
ปริมาณผู้ใช้โครงการประจำ                                              155  คน
ปริมาณผู้ใช้โครงการชั่วคราว(คิดจากปริมาณมากที่สุด)        100  คน
ช่วงเวลาที่มีคนมาติดต่อมากที่สุด  5 ชั่วโมง (10 .00 – 15.00 น)
จะมีปริมาณผู้ใช้โถงทั้งหมด                                               255 คน
ปริมาณเฉลี่ยผู้มาใช้โถง (255 / 5)                                        51 คน
ปริมาณผู้ใช้โครงการชั่วโมงเร่งด่วน(51 x 2)                         102 คน
ระยะเวลาในการใช้โถง 25นาที ต่อ 1 คน  อัตราเฉลี่ย
แยกคิดเป็นคนยืน 30 % (102 x 30/100 )                           31คน
ปริมาณคนนั่ง 70% (102 x 70/100 )                                   72 คน

3)จำนวนผู้ใช้ห้องอาหาร
เป้าหมายจากจำนวนผู้ใช้โครงการประจำและจำนวนผู้ใช้โครงการชั่วคราวในช่วงเวลาที่ใช้ห้องอาหารมากที่สุด
ปริมาณผู้ใช้โครงการประจำ                                                                                                                                                                155คน
ปริมาณผู้ใช้โครงการชั่วคราว(คิดจากปริมาณมากที่สุด)              100คน
ช่วงเวลาที่มีคนมากินข้าวมากที่สุด 1.30 ชั่วโมง (11 .30 – 13.00 น)
จะมีปริมาณผู้ใช้ห้องอาหารทั้งหมด                                   255คน
ปริมาณเฉลี่ยผู้มาใช้ห้องอาหาร(255 / 1.30)                      197คน

4)จำนวนผู้ใช้ห้องสมุด
การคิดจำนวนผู้มาใช้ห้องสมุดคิดเป็น 1 ใน 30 ของพนักงานบริษัท
พนักงานส่วนบริหาร และ พนักงานวิจัย                            123 คน 
คิดเป็นจำนวนผู้เข้าห้องสมุด ต่อวัน  30%  (123x30/100)   37 คน
เฉลี่ยช่วงเวลาที่ใช้ในส่วนห้องสมุด คนละ 2.0 ชั่วโมง
                                 เปิดบริการต่อวัน ( 9.00 –17.00) = 8 ชั่วโมง / วัน
ดังนั้นเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงจะมีปริมาณผู้ใช้ (37x2.0)/8= 9.25 หรือ   10 คน
ดังนั้นเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงจะมีปริมาณผู้ใช้ ชั่วโมงเร่งด่วน (10 x2   20คน

1.1.3.เป้าหมายองค์ประกอบโครงการและพื้นที่ใช้สอยของโครงการ
(Functional Component and Area Requirement)
 
1)      องค์ประกอบโครงการ (Functional Component)
โครงการศูนย์วิจัย บริษัท ไทยออยล์ เป็นโครงการที่มีการใช้งานหลากรูปแบบ และหลายกิจกรรม ซึ่งมีการแบ่งและจัดกลุ่มองค์ประกอบของโครงการ ดังนี้
-องค์ประกอบหลักของโครงการ : ส่วนวิจัย
-องค์ประกอบรองของโครงการ : Auditorium   ห้องอาหาร
-ส่วนสนับสนุนโครงการ : ส่วนพื้นที่พลังงานทดแทน
-ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
-ส่วนบริหาร (Administration Zone)
-ส่วนบริการอาคาร (Service Zone)
-ส่วนจอดรถ (Parking Zone

ส่วนวิจัย
ส่วนวิจัยทำหน้าที่ วิจัยงานตามนโยบายขององค์กร ซึ่งสำหรับบุคคลภายในโครงการเท่านั้น การกำหนดมาตราฐานการใช้พื้นที่ห้องปฎิบัติการหรือพื้นที่ใช้สอยต่อคนนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากห้องปฎิบัติการมีลักษณะ การใช้พื้นที่ ที่แตกต่างกันเนื่องจากเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่มีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันตามการใช้งานซึ่งเป็นเหตุผลในการกำหนดพื้นที่ของห้องปฎิบัติการ

ส่วนบริหาร
ส่วนบริหารทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมดูแลโครงการทั้งหมด และเป็นลำดับแรกสำหรับการติดต่อและการเข้าถึง จากทางเข้า หลักโครงการ จึงจะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆเพื่อเป็นส่วนบริหารโครงการแบ่งเป็นผู้ใช้สอยโครงการดังนี้
-บุคลากรฝ่ายบริหาร ประจำในส่วนบริหารโครงการ
-บุคลากรอื่นๆที่เข้ามาใช้งานเป็นครั้งคราว
-บุคลากรภายนอก คือผู้มาติดต่อทั้งหมด
-พนักงานทำความสะอาด
เมื่อพิจารณาลักษณะผู้ใช้สอยแล้ว ตำแหน่งที่เหมาะสม คือส่วนที่อยู่หน้าสุดที่ใกล้กับทางเข้าหลักของโครงการ และเพื่อควบคุมการติดต่อ เข้าออกของโครงการส่วนประกอบการใช้งาน

ส่วนบริการอาคาร
ส่วนบริการอาคาร เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาอาคาร รวมไปถึงงานระบบของโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยห้องเครื่องงานระบบ ตลอดจนพื้นที่ส่วนพนักงานด้านบริการต่างๆ

ส่วนจอดรถ
เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถ โดยรองรับยานพานหะหลากหลายรูปแบบ และด้วยมีการใช้งานที่หลายประเภทในส่วน จะมีการแยกสัดส่วนของที่จอดออกตามการใช้งานและยานพาหนะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเข้าถึงโครงการ และการจราจรภายในโครงการ โดยแบ่งออกดังนี้
-ส่วนที่จอดรถส่วนบุคคล
-ส่วนที่จอดรถบัส
-ส่วนที่จอดรถรถบัสรับส่งพนักงาน
-ส่วนที่จอดรถพนักงานและฝ่ายบริหาร
-ส่วนจอดรถบริการ และรถบรรทุกขนสินค้า
โดยลักษณะของพื้นที่จอดรถ จะเป็นรูปแบบของลานจอดรถ โดยส่วนจอดรถจะถูกแยกออกจากองค์ประกอบของโครงการ เพื่อความชัดเจนในการคำนวณพื้นที่อาคาร และราคาค่าก่อสร้าง

1.1.4.พื้นที่โครงการ (Area Requirement)
เนื่องจากโครงการมีลักษณะรูปแบบ การใช้งานหลายประเภท จึงไม่สามารถมีการคิดรวมตามประเภทโครงการได้ ดังนั้นการคิดพื้นที่จึงต้องมีการคิดพื้นที่แยกส่วนการใช้งาน เพื่อให้มีความใกล้เคียงพื้นที่โครงการจริงมากที่สุด

 ห้องประชุมเอนกประสงค์ (Auditorium)
รองรับคนสูงสุด 750 ที่นั่งชม จากการกำหนดขนาดผู้เข้าชม จากจำนวนผู้ใช้โครงการสูงสุด
ซึ่งจำนวนพนักงานประจำคิดเป็น                                    155 คน
ผู้ใช้โครงการชั่วคราว  คิดเป็น 20 %                                  20 คน            
ดังนั้น จะมีผู้ใช้ สูงสุด ต่อวัน                                           175 คน
อาคารประเภทห้องประชุม     ตรม. ต่อผู้เข้าชม 1 ที่นั่งชม
ดังนั้น จะใช้พื้นที่                                                                                       24 x 175   =   4200 ตร.ม.   

ส่วนบริหาร (Administration Zone)
กำหนดพื้นที่ส่วนบริหาร จากจำนวนพนักงาน คิดเป็น

พนักงานทั่วไป  1 คน ต่อ 4  ตรม.
หัวหน้าแผนก   1 คน ต่อ  6  ตรม.
เลขาธิการ        1 คน ต่อ  4 ตร.ม.
ผู้บริหาร           1 คน ต่อ12 ตร.ม.
จำนวนพนักงาน      76   คน     พื้นที่ ทั้งหมด       304 ตร.ม.จำนวนหัวหน้าแผนก   4 คน     พื้นที่ ทั้งหมด         24 ตร.ม.จำนวนเลขาธิการ        4 คน     พื้นที่ ทั้งหมด         16 ตร.ม.จำนวนผู้บริหาร           4 คน     พื้นที่ ทั้งหมด         48 ตร.ม.
พื้นที่สำหรับสัญจร และ ส่วนบริการในส่วนบริหาร
                                                             45%  176.4 ตร.ม.ดังนั้น จะมีพื้นที่                                               572.4 ตร.ม.

1)      ส่วนบริการ
กำหนดพื้นที่ส่วนบริการ 10% ของพื้นที่ใช้สอยหลักทั้งหมด                                                                                                    
                                                                 รวม 8,370 ตรม.  
ดังนั้นพื้นที่              เท่ากับ       8,370x 10/ 100 = 837 ตรม.
พื้นที่สำหรับสัญจรในส่วนบริการ 30 %               251.1 ตร.ม.
ดังนั้นพื้นที่              เท่ากับ       837 + 251.1 = 1088.1 ตรม.
 


1.4.เป้าหมายโครงการด้านเทคโนโลยี(Technology Goals)
เนื่องจากบริษัทไทยออยล์ นั้นมีนโนบายในด้านพลังงาน ทำให้โครงการศูนย์ วิจัยไทยออยล์ นี้ต้องคำนึงถึงพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุอาคาร และเทคโนโลยีของงานระบบเครื่องกลต่างๆใน ศูนย์วิจัย ดังนี้

1.4.1.ด้านพลังงานทดแทน
1)      พลังงานแสงอาทิตย์
เป็นส่วนที่ทำให้โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่ง

2)      พลังงานลม
เนื่องจากพื้นที่ขอโครงการนั้นอยู่บริเวณไกล้ทะเล ซึ่งบริเวณนี้จะมีลมที่แรงกว่าปกติ พลังงานลมนั้นเราสามารถนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าในอาคารได้ในส่วนหนึ่ง และจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายโครงการได้

1.4.2.ด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นเป้าหมายในการธรรมช่ติมาใช้งานอย่างเหมาะสม
1)      พืชพรรณธรรมชาติ
- ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ และพุ่มใบโปร่งบริเวณรอบอาคาร เพื่อให้ร่มเงาช่วยลดความร้อนที่เกิดจากรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์

- ปลูกพืชคลุมดินเพื่อนป้องกันความร้อนให้กับดิน และทำให้อุณหภูมิผิวของสภาพแวดล้อมเย็นลง

- ใช้ไม้พุ่มเพื่อทำให้สภาภแวดล้อมเย็น และช่วยทำให้เปลี่ยนแปลงทิศทางลมเข้าส่วนที่ต้องการ

2)      สภาพภูมิประเทศ
- ใช้ความลาดเอียงของพื้นดินในโครงการ เพื่อให้ผิวดินนั้นรับแสงแดดน้อยลง

- ใช้ประโยชน์จากอุณหภูมิในดิน โดยที่ผิวดินสัมผัสกับผนังอาคาร หรือผนังบางส่วนอยู่ใต้ดิน ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นเย็นลง

3)      สภาพภูมิอากาศ
- การใช้ประโยชน์จากลม  ที่มาจากทิศใต้ / ตะวันออก เฉียงใต้ในฤดูร้อน และ จากทิศเหนือ / ตะวันออก
เฉียงเหนือ ในฤดูหนาว

1.4.3. ด้านระบายอากาศ
ความร้อนภายในอาคารจะลอยตัวขึ้นสู่ ดังนั้นจึงจำเป้นต้องมีช่องดูดอากาศร้อนภายในอาคารออกนอกอาคาร จะทำให้ภายในอาคารนั้นเย็นขึ้น ซึ่งจะเป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการ

1.4.4 ด้านระบบความปลอดภัย
ในการวิจัยนั้น จำเป็นต้องมี เทคโนโลยีสำหรับป้องกัน อุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการทดลอง หรือเกิดขึ้นจากส่วนอื่นของโครงการ





1.4.5. ด้านวัสดุอาคาร

1)      ผนัง
การลดความร้อนเข้าอาคาร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเปลือกอาคารให้สามารถต้านทานความร้อนที่จะ เข้ามาในอาคารให้ได้มากที่สุด                                  
                                                ผนังอาคารโดยทั่ว ไปแล้วจะมีพื้นที่รับแสงแดดได้มาก เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของอาคารส่วนอื่นๆ เพราะมีความยาวเป็นเส้นรอบรูป คูณด้วยความสูงของอาคาร ทำให้ความร้อนสามารถกระทบและแผ่ความร้อนเข้าอาคารได้มาก
                                                ซึ่งต่างจากหลังคา ที่มีพื้นที่กว้างมากกว่าพื้นที่อาคารไม่มาก              การก่อสร้าง ผนังให้มีฉนวนกันความร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่ต้องประหยัดพลังงาน เพราะหากไม่สามารถลดความร้อนให้เข้าอาคารทางผนังอาคาร
                                             ซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดในการรับความร้อน ก็ยากในการลดพลังงานลงได้

1)      พื้น
พื้นบริเวณรอบนอกอาคาร มีผลทำให้เกิดความร้อนสะสมในวัสดุนั้นถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ ซึ่งเป็นเหตุทำให้ความร้อนภายในอาคารร้อนกว่าภายนอกอาคาร
                                                การเลือกใช้วัสดุพื้นนั้นให้เกิดการเก็บความร้อนให้น้อยที่สุดคือ ควรจะเลือกวัสดุที่มีพื้นผิวหยาบ มีรูพรุน ซึ่งจะทำให้พื้นนั้นมีการถ่ายเทความร้อนได้ดูและ เมื่อแสงมากระทบกับพื้นจะเกิดการหักเหได้มากกว่าวัสดุอื่น

2)      หลังคา
"Green Roof"เป็นเทคโนโลยีการออกแบบอาคารสมัยใหม่ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง Think Green เพราะผืนหญ้าจะช่วยลดความร้อนก่อนปะทะกับตัวอาคารโดยตรง                              ซึ่งทำให้อากาศชั้นบนนั้นจะมีความเย็นขึ้นถึง 50%                  

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น