วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่2



บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานโครงการ (Facts)

ศูนย์วิจัยบริษัทไทยออยล์ เป็นโครงการสำหรับวิจัยน้ำมันของบริษัทไทยออยล์  และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ที่สนใจในด้าน ปิโตรเลียม  ซึ่งโครงการนี้เป็นลักษณะการใช้งานในด้านสำนักงานเป็นหลัก และโครงการเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ดังนั้นในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล จะอ้างอิงมาจากกรณีศึกษาที่มีความใกล้เคียง ประกอบกับข้อมูลต่างๆที่มาจากการ การลงพื้นที่ และข้อมูลทางด้านสถิติ เพื่อนามาวิเคราะห์ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานโครงการ ซึ่งประกอบด้วยด้านต่างๆดังนี้

2.1. ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Facts)
2.2. ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ (Form Facts)
2.3. ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Facts)
2.4. ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Technology Facts)

2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอยของโครงการนั้น ได้ทำการวิเคราะห์ในหัวข้อและรายละเอียดจากข้อมูลที่เป็นสถิติ เอกสารทางวิชาการ การสำรวจ การสังเกตการณ์และกรณีศึกษา โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้

2.1.1. ผู้ใช้โครงการ (Users)
2.1.2. กิจกรรม (Activities)

2.1.1 ผู้ใช้โครงการ
1)      ผู้ใช้โครงการประจำ
- พนักงาน
- ผู้บริหาร
-นักวิจัยโครงการ
2)       ผู้ใช้โครงการชั่วคราว
-ผู้ทำธุรกิจกับบริษัท
-ผู้ที่มีความสนใจโครงการวิจัย

2.1.2 กิจกรรม
1) พฤติกรรมของผู้ใช้โครงการ
จากการศึกษารูปแบบพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้โครงการประเภทสถาบันวิจัย ที่มีส่วนของการจัดแสดงเป็นองค์ประกอบของโครงการนั้น พบว่าโดยมากผู้ใช้โครงการจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่คล้ายๆ กัน ซึ่งสามารถเขียนแสดงออกมาในรูปแบบของ DIAGRAM แสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้

2.2. ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ (Form Facts)
ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบของโครงการ จะทำการศึกษาในส่วนของที่ตั้งโครงการ สภาพแวดล้อมโดยรอบ และอัตลักษณ์ของโครงการ ซึ่ง เป็นปัจจัยในการออกแบบโครงการ ดังนี้

2.2.1. ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม(Environment)
2.2.2. จินตภาพ(Image)

2.2.1.ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม(Environment)
เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของโครงการและนำมาวิเคราะห์ตำแหน่งการวางอาคารให้เหมาะสม

2.2.2. จินตภาพ(Image)
                การศึกษาข้อมูลของลักษณะภายนอกและภายในที่ปรากฏออกมาในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปทรง สี องค์วัสดุ หรือประกอบอื่นๆที่มองเห็นแล้วก็ให้เกิดจินตภาพที่สอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ
                 โดยโครงการศูนย์วิจัยเตือนภัยพิบัติและพิพิธภัณฑ์ได้ทาการศึกษาทางด้านจินตภาพของโครงการที่สอดคล้องกับลักษณะของโครงที่เป็นสถาบันการวิจัย โดยอ้างอิงถึงโครงการประเทศต่างๆที่มีคุณภาพทางด้านจินตภาพโครงการ เพื่อนามาประยุกต์ใช้กับโครงการสถาบันศิลปศาสตร์แฟชั่นนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีหัวข้อรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้

1)จินตภาพภายนอก(External Image)
2)จินตภาพภายใน(Internal Image)




1)      จินตภาพภายนอก(External Image)
ศึกษาภาพรวมที่ปรากฏอยู่ภายนอกของงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวความคิด วิธีการจัดการ และวิธีการออกแบบให้ได้ตามแนวความคิดที่วางไว้ โดยมีรายละเอียดย่อยในการพิจารณาดังนี้
-รูปร่างและรูปทรง(Configulation and Image)
-ลักษณะ(Characteristic)
สถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกับธรรมชาติ และบ่งบอกความเป็นโครงการ ทั้งในส่วนของรูปทรง พื้นที่ว่าง วัสดุ และองค์ประกอบ การสร้างภาพลักษณ์เฉพาะตัวให้แก่งานสถาปัตยกรรม ลักษณะของงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อน
อัตลักษณ์ออกมาได้อย่างโดดเด่น และความนำสมัย ในเรื่องวัสดุ เทคโนโลยีใหม่  ซึ่งสามารถบ่งบอกประเภทของโครงการออกมาได้อย่างชัดเจนในรูปลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรม

-รูปแบบ(Style)
เป็นโครงการที่มีรูปแบบที่เรียบง่าย ดูทันสมัยและผสมผสานกับความเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะออกมาในรูปแบบที่ดูเป็นโครงการและดูโดดเด่นในองค์กร

- สัดส่วน(Proportion) จังหวะ(Rhythm)และลำดับ(Order/Hierarchy)
โครงการที่มีสัดส่วนของอาคารที่สวยงาม สามารถบ่งบอกถึงประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้การสัญจรภายในอาคารนั้นเป็นไปได้ง่ายและการเล่นจังหว่ะของฟังก์ชั่นทำให้ดูตื่นตาของผู้ใช้โครงการได้


- สภาพแวดล้อมโครงการ(Landscape)
โครงการที่มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม โดยเฉพาะการออกแบบอาคารให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างลงตัว และสามารถใช้สภาพแวดล้อมมาเสริมสร้างภาพลักษณ์โครงการให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

2)   จินตภาพภายใน (Internal Image)
เป็นการศึกษาถึงจินตภาพหรือรูปแบบภายในอาคารของอาคารกรณีศึกษา โดยมีหัวข้อในการพิจารณา ดังนี้

- ลักษณะและคุณภาพของที่ว่าง(Character and Quality of Space)
จากการศึกษาจะพบว่าปริมาตรและขนาดของที่ว่าง ควรจะมีความเหมาะสมกับองค์ประกอบแต่ละหน้าที่ และต้องมีการเชื่อมโยงที่ว่างต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดโครงการเพราะว่าจะสามารถสื่อถึงสิ่งที่โครงการต้องการจะนำเสนอต่อผู้ใช้โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- จังหวะ (Rhythm) หรือลำดับ (Order / Hierarchy)
จากการศึกษาจะพบว่าการสร้างจังหวะให้กับที่ว่างภายในอาคาร จะต้องใช้การจัดพื้นที่ให้เกิดการโอบล้อมของที่ว่างจากกิจกรรม หรือจาก  เนื้อหาของกิจกรรมที่แตกต่างกันโดยการใช้ Pattern , Plane ให้เกิดทิศทางและความต่อเนื่อง มีการวางลำดับการรับรู้ที่ว่างตามที่โครงการต้องการจะสื่อสารกับผู้เข้าชมโครงการ




2.3  ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Facts)
ในการศึกษาข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุน การเงินของโครงการและระดับคุณภาพของอาคาร ซึ่งจะนำเอาข้อเท็จจริงเหล่านี้มาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดคุณภาพ งบประมาณและการคำนวณรายละเอียดของโครงการในขั้นต่อไป โดยนี้ จะทำการค้นหาข้อมูลจากกรณีศึกษา เพราะเป็นโครงการจริงที่อยู่ภายในประเทศที่เป็นโครงการของเอกชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2.3.1 การลงทุนโครงการ
จากการศึกษาและการวิเคราะห์จะพบว่าโครงการเพื่อการศึกษาวิจัย และการวิจัยทดลอง เป็นโครงการที่มีต้นทุนสูง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการนำเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำสมัยและเป็นโครงการที่คำนึงถึง งบประมาณในการลงทุน

2.4. ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี(Technology Facts)

2.4.1.ด้านพลังงาน
2.4.2.ด้านระบบระบายอากาศ
2.4.3.ด้านระบบรักษาความปลอดภัย(Security Management)
2.4.4.ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน(Occupant Safety Management )
2.4.5.ระบบบริหารสายสัญญาณ ( Cable Management)
2.4.6.ด้านระบบโครงสร้างอาคาร
2.4.7.ด้านระบบวัสดุอาคาร

2.4.1. ด้านพลังงาน
ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานของอาคารที่ได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบอิเล็กโทรนิกที่ช่วยควบคุมพลังงานภายในอาคาร เช่น ระบบแสงสว่างเปิด-ปิด อัตโนมัติ โดยจะบริหารให้ได้ประโยชน์สูงสุด ให้เสียค่าใช้จ่ายต่าสุด

2.4.2. ด้านระบบระบายอากาศ
ทำหน้าที่ระบายอากาศเสียหรือควันพิษที่เกิดจากการทดลอง และการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร โดยใช้เทคโนโลยีการดูดควันและอากาศออกจากตัวอาคาร

2.4.3  ด้านระบบรักษาความปลอดภัย ( Security Management )
ทำหน้าที่ตรวจตรา และตรวจสอบ การเข้า-ออกอาคารของบุคคลประเภทต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ ตั้งแต่ ระบบควบคุมทางเข้า-ออก (Access Control) ,อุปกรณ์ตรวจสอบความร้อน ,กล้องวงจรปิด ,ระบบตรวจสอบการเคลื่อนไหว ฯลฯ โดยจะต่อสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนกลาง ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

2.4.4.ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน(Occupant Safety Management )
ทำหน้าที่ควบคุมระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบอัดอากาศ และระบายควัน โดยการทำงานจะประสานกันทั้งหมด เพื่อให้ระบบการป้องกันภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด

2.4.5. ระบบบริหารสายสัญญาณ ( Cable Management)
สายสัญญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งการวางระบบสายสัญญาณจะไม่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่จะเกิดขึ้นค่อยเป็นค่อยไปในระหว่างการใช้อาคาร ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนชนิดและตำแหน่งของอุปกรณ์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาในอาคาร ซึ่งจะใช้โปรแกรมเก็บข้อมูลการวางสายสัญญาณของอาคารทั้งหมด เพื่อช่วยในการวางแผน แก้ไขเพิ่มเติมสายสัญญาณต่างๆ ในอนาคต




2.4.6.ด้านระบบโครงสร้างอาคาร

1)      ระบบโครงสร้าง(Structure)
-    ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก(Reinforced Concrete)
จากกรณีศึกษา จะใช้ในส่วนของฐานรากและส่วนที่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากช่วยป้องกันเรื่องของความชื้นได้ดี รวมไปถึงใช้เป็นแกนของอาคาร ซึ่งได้ผลดีกว่าโครงสร้างเหล็กเนื่องจาก กรณีศึกษาส่วนใหญ่จะมีการวางห้องน้ำ หรือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับงานระบบสุขาภิบาล

-  ระบบโครงสร้าง Long Span
เนื่องจากโครงการมีการใช้งานหน้ากว้าง หลายการใช้งาน จึงมีการคำนึงโครงสร้างที่มารองรับส่วนที่เป็นหลังคา ที่มีความกว้างโดยกรณีศึกษา มีการใช้หลายรูปแบบ เช่นระบบ Truss หรือระบบโครงข้อหมุนสามมิติ Space Frame และมีเทคโนโลยีการก่อสร้าง เช่น ระบบ Leading Edge ซึ่งเป็นระบบการก่อสร้างที่คล้ายกับเทคโนโลยีการทำปีกเครื่องบิน

2)      ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)
- ระบบปรับอากาศ VRV System
หรือระบบ Variable Refrigerant Volume ระบบปรับอากาศชนิดนี้ คือระบบปรับอากาศแบบ Split Type ขนาดใหญ่โดยได้คงส่วนดีของระบบ Split Type เดิมไว้ แล้วเพิ่มความสามารถใหม่ๆเข้าไปในระบบอีกหลายอย่าง      เพื่อให้ระบบนี้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานสะดวก และ ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าระบบ Sprite Type เดิม มีการพัฒนาให้ท่อน้ำยาเดินไปได้ไกลขึ้น

   

3)      .ระบบสุขาภิบาล(Sanitary)
-ระบบประปา
เป็นระบบ Up Feed System โดยระบบจ่ายน้ำประปาขึ้นจากชั้นล่างของอาคารไปแจกจ่ายทั่วอาคาร จนถึงชั้นบนของอาคาร

-ระบบน้ำเสีย
เป็นระบบ Aerobic Treatment เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับโครงการมากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างน้อย โดยเหมาะสมกับอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง โดยมีหลักการคือการเติมจุลชีพลงไป เพื่อย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำเสียที่เป็นตะกอนโยเครื่องเติมอากาศทางานตลอดเวลาโดยน้าเสียที่บำบัดแล้วจะไหลลงสูท่อสาธารณะ

4)      ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)
-ระบบไฟฟ้ากำลังแบบ Sub-Station
เป็นระบบที่เหมาะสมกับโครงการที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องการใช้ไฟฟ้าจานวนมาก และระบบนี้สามารถซ่อมบารุงได้ง่าย เพราะเป็นของเฉพาะที่ใช้ในโครงการ

5)      ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)
6)      ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting Protection System)
7)      ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(communication)
-ระบบโทรศัพท์(Telephone System)
PABX เป็นระบบที่นำมาใช้ภายในองค์กรของโครงการ เนื่องจากเป็นระบบที่เป็นการจำลองชุมสายโทรศัพท์ และกระจายตามหน่วยย่อยภายในโครงการ ซึ่งจะเป็นการจัดการควบคุมส่วนต่างๆของโครงการ และประหยัดกว่าระบบโทรศัพท์ปกติ

- ระบบอินเตอร์เน็ต
โดยโครงการจะเป็นการใช้ระบบไร้สาย Internet-Wireless ซึ่งครอบคลุมในระยะสัญญาณในระยะใกล้ และมีการควบคุสัญญาณได้ ประหยัดการใช้สายสัญญาณ และการดูแลรักษา เน้นการใช้งานภายในองค์กร และผู้มาติดต่อในโครงการ และระบบ Wi-Fi สำหรับการกระจายสัญญาณระยะไกล ครอบคลุมโครงการและบริเวณโดยรอบ โดยควบคลุมจากศูนย์บริการโทรคมนาคมสื่อสารของโครงการ

-  ระบบกระจายเสียง 
โดยเป็นการกระจายเสียงไปยังส่วนต่างๆ โดยมาจากส่วนประชาสัมพันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวกด้าน การประกาศข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ แก่คนในองค์กรและกลุ่มผู้ใช้โครงการ

8)ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection Extinguishers)
9)ระบบแสงสว่าง(Lighting)
10)ระบบบันไดเลื่อน(Escalator)
11)ระบบลิฟต์ขนส่ง(Elevator)

2.4.7.ด้านระบบวัสดุอาคาร
เนื่องจากโครงการนี้ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น และมีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดปี ปัญหาในการออกแบบ คือ การลดปริมาณความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร (Cooling Load) ดังนั้นเพื่อลดปริมาณความร้อนจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้กับอาคารที่เหมาะสม ซึ่งควรมีลักษณะ ในการกันความร้อนได้ดี ไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม ราคาประหยัด สวยงามและ ทนนทานต่อสภาวะอากาศ ได้แบ่งออกเป็นประเภทการใช้งานดังนี้

1) กระจก
กระจกฮีตสต๊อป (Heat Stop) เป็นกระจกที่ใช้ในส่วนที่มีการปรับอากาศ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายนอกอาคาร ช่วยในการลดภาระการปรับอากาศในอาคารได้เป็นอย่างดีกระจกฮีตสต๊อปที่มีใช้มี 2 แบบ โดยเรียกตามชื่อทางการค้าแตกต่างกันดังนี้

- Heat-stop-E-RSCAZ เป็นกระจกที่ใช้ในส่วนปรับอากาศทั้งหมดในอาคารวิจัย คือ ส่วนของห้องวิจัยและส่วนพักคอย
- Heat-stop-E-VGN ใช้ในบางส่วนของโครงการในทิศตะวันออกและตะวันตก

2)      ผนัง
- ผนังระบบกันความร้อนภายนอก (EIFS)
ผนังระบบ EIFS มีการใช้ฉนวนประเภทโฟม ไฟเบอร์กลาส และระบบเคลือบกันความเสียหายจากความร้อนและความชื้นด้านนอกอาคารไว้โดยรอบ และยังมีน้ำหนักเบา ทำให้ทำงานได้ง่าย จุดเด่นของระบบผนัง EIFS คือ เมื่อนำไปใช้กับผนังภายนอกอาคารแล้วสามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดีมาก อีกทั้งวัสดุที่ใช้เคลือบภายนอกก็เป็นสารผสมทรายที่กันรังสี UV ได้ดี กับมีสารบางตัวซึ่งทำหน้าที่ป้องกันผนังจากรอยร้าวและความชื้น ทำให้ผนังมีสภาพคงทนสวยงามได้มากกว่า 30 ปี  จะใช้กับผนังในส่วนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

- ผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นมีช่องอากาศ
ผนังประเภทนี้มีลักษณะคล้ายผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นแต่
ป้องกันความร้อนได้ดีกว่า เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างผนัง
ช่วยเพิ่มค่าฉนวนของผนัง จะใช้กับผนังทุกส่วนในอาคาร

3)      พื้น
ถ้าบริเวณโดยรอบอาคารมีการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และมีอุณหภูมิดินที่เย็นแล้ว สามารถเลือกใช้วัสดุพื้นที่ดึงเอาความเย็นจากดินมาใช้ในอาคาร ทำให้ผิวของพื้นของอาคารนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวกายของมนุษย์และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวกายกับสภาพแวดล้อมทำให้รู้สึกเย็นกว่าปกติ ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคของการถ่ายเทความร้อนระหว่างตัวคนกับสภาพแวดล้อม หรือ MRT Effect เพราะถ้าอุณหภูมิรอบข้างโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผิวกาย 1 องศาเซลเซียส มนุษย์จะรู้สึกเย็นกว่าปกติ 1.4 องศาเซลเซียส เทคนิคของการทำผิวของสภาพแวดล้อมให้เย็นนี้ เป็นเอกลักษณ์ที่พบได้ในสถาปัตยกรรมไทย เช่น พื้นใต้ถุนบ้าน  พื้นโบสถ์ วัสดุพื้นชนิดอื่น ๆ ก็สามารถนำมาใช้ในอาคารได้ ถ้ามีความเข้าใจในคุณสมบัติของวัสดุ และนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น

- ไม้ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนในระดับหนึ่ง ถ้านำมาใช้กับพื้นชั้นล่างจะลดค่าการนำความร้อนจากดินลงไปมากทำให้สูญเสียความรู้สึกเย็นจากสภาพแวดล้อมลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้หินชนิดต่าง ๆ

-  หินแกรนิตมีความคงทนแต่ให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างเหมาะกับการใช้งานในบริเวณพื้นนอกอาคาร

-  กระเบื้องเคลือบ มีความคงทน และดูแลรักษาง่าย จะใช้ในส่วนของห้องวิจัย

4)      วัสดุมุงหลังคา
ให้ในส่วนของหลังคานั้นเป็น Green Roofเพื่อที่จะลดความร้อน
จากหลังคาอีกวิธีหนึ่ง

Green roofs ที่หมายถึง หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ ปกคลุมอยู่ข้างบนไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณในลักษณะพืชคลุมดิน ไม้เลื้อย หรือลักษณะใดๆก็ตามเน้นคำนึงผลกระทบต่สภาพแวดล้อมโดยตรง นอกเหนือไปจากการสร้างสภาวะสบายและการลดการใช้พลังงานของอาคารซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Green roofs ที่เป็นสวนหลังคา (Roof gardenสามารถออกมาใช้สอยพื้นที่ได้

- Green roofs ที่เน้นการปลูกพืชพันธุ์บนหลังคไม่ได้เน้นที่ประโยชน์ใช้สอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น