วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่4



บทที่ 4  รายละเอียดโครงการ

          รายละเอียดโครงการเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลในแต่ละด้านเพื่อนำไปกำหนดหาความต้องการการใช้งานในเชิงปริมาณที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ โดยจะมีการแยกพิจารณาในด้านหัวข้อ ด้านหน้าที่ใช้สอย ด้านรูปแบบ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของโครงการที่ตรงเป้าหมายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ข้อคำนึงถึงการทำรายละเอียดโครงการ
1รายละเอียดโครงการจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับโครงการในแง่ของความต้องการด้านหน้าที่ใช้สอย,ด้านรูปแบบ,ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของโครงการ
2.รายละเอียดของโครงการจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวกับประเภทอาคารและข้อจำกัดต่างๆในแต่ละพื้นที่ของโครงการ
3.รายละเอียดโครงการจะได้จากการสังเคราะห์แนวความคิดโครงการ โดยอาจจะต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการคำนวณหรือสังเคราะห์เพื่อให้ได้ความต้องการโครงการที่เป็นรูปธรรมโดยที่จะต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของโครงการในทุกๆด้าน
4.ในขั้นตอนของการออกแบบอาจที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดความต้องการของโครงการแต่ต้องรักษาภาพรวมของโครงการไว้โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ควรที่จะเกิน 5 %ของข้อมูลรวม
5.ในทุกรายละเอียดและข้อมูลของโครงการจะต้องสามารถที่จะอ้างอิงได้ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากโครงการตัวอย่างจากผู้เชี่ยวชาญหรือจากการค้นคว้าในหนังสือ ซึ่งจะต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งที่นำมาใช้ในการเขียนความต้องการโครงการ

 4.1 รายละเอียดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Needs)
4.2 รายละเอียดโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Needs)
4.3 รายละเอียดโครงการด้านเทคโนโลยี (Technology Needs)




4.1.รายละเอียดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย(FUNCTION NEEDS)
การคำนวณหาพื้นที่ใช้สอยแล้วสามารถนำไปกำหนดความต้องการโครงการด้านหน้าที่ใช้สอยออกมาในรูปแบบของพื้นที่ได้โดยการคำนวณหาพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

4.1.1.จำนวนผู้ใช้โครงการและระยะเวลาการใช้งาน
                           4.1.2.การเรียงลำดับของกิจกรรม
4.1.3.ความต้องการในการใช้พื้นที่ของส่วนต่างๆในแต่ละองค์ประกอบ
4.1.4.ขนาดพื้นที่ใช้สอยโครงการ

4.1.1.จำนวนผู้ใช้โครงการและระยะเวลาการใช้งาน
ตารางที่ 4. 1จำนวนผู้ใช้โครงการและระยะเวลาการใช้งาน

องค์ประกอบ
แผนก
ตำแหน่ง
จำนวน/คน
ระยะเวลาในการทำงาน

ส่วนองค์ประกอบหลัก
วิจัย
หัวหน้าวิจัย
1
7.30 น. -16.30 น.



พนักงานวิจัย
35
7.30 น. -16.30 น.



คนเดินเอกสาร
4
7.30 น. -16.30 น.

องค์ประกอบรอง
ห้องสมุด
บรรณารักษ์
1
7.30 น. -16.30 น.



ผู้ช่วยบรรณารักษ์
2
7.30 น. -16.30 น.

ส่วนบริหารโครงการ
สำนักงาน
ผู้บริหาร
1
7.30 น. -16.30 น.



รองผู้บริหาร
2
7.30 น. -16.30 น.
  

เลขานุการ
3
7.30 น. -16.30 น.



หัวหน้าแผนก
2
7.30 น. -16.30 น.



ผู้ช่วยหัวหน้า
4
7.30 น. -16.30 น.



พนักงาน
76
7.30 น. -16.30 น.



คนเดินเอกสาร
4
7.30 น. -16.30 น.


ประชาสัมพันธ์
พนักงาน
3
7.30 น. -16.30 น.


รักษาความปลอดภัย
ยาม
2
6.00 น. -18.00 น.

ส่วนบริการโครงการ
เครื่องกล
ช่างไฟฟ้า
1
7.30 น. -16.30 น.



ช่างเทคนิค
1
7.30 น. -16.30 น.



ช่างไอที
1
7.30 น. -16.30 น.


อาหารและเครื่องดื่ม
พนักงานร้านกาแฟ
2
7.30 น. -16.30 น.



คนทำอาหาร
2
7.30 น. -16.30 น.



พนักงานเสริฟ
2
7.30 น. -16.30 น.


ทำความสะอาด
พนักงานทำความสะอาด
4
6.00 น. -18.00 น.


คนสวน
คนดูแลสวน
4
6.00 น. -18.00 น.



รวม
155














4.1.2.การเรียงลำดับของกิจกรรม
ตารางที่ 4. 2 แสดงการเรียงลำดับของกิจกรรม


4.1.3.ความต้องการในการใช้พื้นที่ของส่วนต่างๆในแต่ละองค์ประกอบ

1)      โถงต้อนรับและพักคอย
ปริมาณผู้ใช้โครงการประจำ                                                                                                                                                                            155  คน
ปริมาณผู้ใช้โครงการชั่วคราว(คิดจากปริมาณมากที่สุด)           100  คน
ช่วงเวลาที่มีคนมาติดต่อมากที่สุด  5 ชั่วโมง (10 .00 – 15.00 น)
จะมีปริมาณผู้ใช้โถงทั้งหมด                                                  225 คน
ปริมาณเฉลี่ยผู้มาใช้โถง (255 / 5)                                           51 คน
ปริมาณผู้ใช้โครงการชั่วโมงเร่งด่วน  (51 x 2)                         102 คน
ระยะเวลาในการใช้โถง  25นาที  ต่อ 1 คน  อัตราเฉลี่ย
แยกคิดเป็นคนยืน 30 %       (102 x 30/100 )                    31  คน
การยืนใช้พื้นที่ 0.6 ตร.มจะใช้พื้นที่   (31 x 0.6)                19  ตร.ม.
ปริมาณคนนั่ง 70%              (102 x 70/100 )                     72 คน
แบ่งเป็นเก้าอี้ 1ชุด  5 ที่นั่ง                                           3.30  ตร.ม.
จะใช้เก้าอี้ทั้งหมด ( 72/5 )                                                 15 ชุด
จะใช้พื้นที่นั่งทั้งหมด                                                      50 ตร.ม.
จะมีพื้นที่สุทธิ                                                                                                                                                                                                                                              69 ตร.ม.
หมายเหตุ พื้นที่สุทธิยังไม่รวมพื้นที่สัญจร     

2)   ห้องอาหาร
หาพื้นที่ครัวสำหรับร้านอาหาร
หาจากสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยของส่วนรับประทานอาหาร พื้นที่ครัว
พื้นที่ใช้สอยห้องอาหาร                                                                                                                                                            90  ตร.ม.
สัดส่วนระหว่าง                       ห้องอาหาร :ห้องครัว                                             70:30
ดังนั้นห้องครัวควรมีพื้นที่ใช้สอย                            38.57ตร.ม.
สัดส่วนระหว่าง ทางสัญจร :พื้นที่ห้องครัว                                        20:80
ดังนั้นพื้นที่รวมของครัว 38.57+(38.57x20)/80=48.21ตร.ม

3)   ห้องสมุด
การคิดจำนวนผู้มาใช้ห้องสมุดคิดเป็น 1 ใน 30 ของพนักงานบริษัท
พนักงานส่วนบริหาร และ พนักงานวิจัย                            123 คน 
คิดเป็นจำนวนผู้เข้าห้องสมุด ต่อวัน  30%  (123x30/100)   37 คน
เฉลี่ยช่วงเวลาที่ใช้ในส่วนห้องสมุด
 คนละ 2.0 ชั่วโมงเปิดบริการต่อวัน ( 9.00 –17.00)                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      = 8 ชั่วโมง / วัน
ดังนั้นเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงจะมีปริมาณผู้ใช้ (37x2.0)/8= 9.25 หรือ  10 คน
ดังนั้นเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงจะมีปริมาณผู้ใช้ ชั่วโมงเร่งด่วน (10 x2)    20คน

-          คำนวนพื้นที่ส่วนอ่านหนังสือ
ปริมาณผู้ใช้บริการ     20   คน แบ่งออกเป็น
ผู้อ่านหนังสือวิจัยทั่วไป ร้อยละ 70                             14 คน
ผู้อ่านหนังสือทั่วไป       ร้อยละ 20                                4 คน
ผู้อ่านหนังสือวารสาร    ร้อยละ 10                                2 คน
พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือวิจัย                          สำหรับ 14  คน
โต๊ะอ่านหนังสือสำหรับ6ที่นั่งจำนวน (14/6)                    3โต๊ะ
พื้นที่โต๊ะ 6 ที่นั่ง 1ชุด                                             7.71 ตรม.
ดังนั้นพื้นที่สุทธิส่วนที่นั่งอ่านหนังสือ 3x7.71 = 23.13 หรือ 24 ตรม.

พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือทั่วไป                          สำหรับคน
โต๊ะอ่านหนังสือสำหรับ6ที่นั่งจำนวน ( 4/6)                    1โต๊ะ
พื้นที่โต๊ะ 6 ที่นั่ง 1ชุด                                             7.71 ตรม.
ดังนั้นพื้นที่สุทธิส่วนที่นั่งอ่านหนังสือ 1x7.71 = 7.71 หรือ 8 ตรม.

พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือวารสาร                       สำหรับคน
โต๊ะอ่านหนังสือสำหรับ6ที่นั่งจำนวน (2/6)                      1โต๊ะ
พื้นที่โต๊ะ 6 ที่นั่ง 1ชุด                                             7.71 ตรม.
ดังนั้นพื้นที่สุทธิส่วนที่นั่งอ่านหนังสือ 1x7.71 = 7.71 หรือ 8 ตรม.
รวมส่วนพื้นที่อ่านหนังสือ 40 ตรารางเมตร

- การคำนวณหาพื้นที่จัดเก็บหนังสือ
จากมาตรฐานห้องสมุด ทบวงมหาวิทยาลัย
กำหนดหนังสือ 30 เล่มต่อผู้ใช้ 1 คน
ดังนั้นจึงมีหนังสือทั้งหมด 30 x 37 = 1,110 เล่ม
หนังสือทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 70% = 777 เล่ม
หนังสือทั่วไป 15%      = 167 เล่ม
หนังสือวารสาร 5 %    = 56   เล่ม

ตู้เก็บหนังสือ 1,200 เล่มต่อตู้
ต้องใช้ตู้เก็บหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 777/ 1,200    =    1 ตู้
ต้องใช้ตู้เก็บหนังสือทั่วไป และ วารสาร 223 / 1,200       =     1 ตู้
พร้อมรองรับหนังสือในอนาคต                                              5 ตู้
พื้นที่สำหรับตู้เก็บหนังสือ = 2.60 ตรม.ต่อ1 ตู้
ดังนั้นใช้พื้นที่ทั้งสิ้น ( 1 x 2.60) + (1 x 2.60) + (5 x 2.60) = 18.2 ตรม.
หนังสือวารสารรายเดือน เดือนละ 30 เล่ม ใช้ชั้นวางวารสาร
                                                                                                                                                                                                                                                                                          ขนาดพื้นที่ = 1.64 ตรม.

หนังสือวารสารเย็บเล่มในเวลา 20 ปี มีวารสารเย็บเล่ม = 30 x 20 เล่ม
                                                                                               = 600 เล่ม
ดังนั้นใช้ตู้เก็บหนังสือ 1 ตู้ ขนาดพื้นที่ = 2.60 ตรม
รวมใช้พื้นที่จัดเก็บหนังสือ = 19.84 ตรม.

4.1.4.ขนาดพื้นที่ใช้สอยโครงการ
1)      ส่วนสำนักงาน
-          ห้องทำงานผู้บริหาร จำนวน1คน/ห้อง ห้องน้ำภายในตัว
 โต๊ะทำงาน 1 ชุด                   พื้นที่ 7.7 ตารางเมตร
 ตู้เก็บของ 1 ตู้                       พื้นที่ 2.4 ตารางเมตร
 ตู้โชว์ 1 ตู้                             พื้นที่ 4.8 ตารางเมตร
 ชุดรับแขก 1 ชุด                    พื้นที่ 6.6 ตารางเมตร
 ห้องน้ำ 1 ห้อง                      พื้นที่ 4    ตารางเมตร
 พื้นที่รวม 25.5 ตารางเมตร
 พื้นที่circulation 7.65 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ห้องผู้บริหาร          พื้นที่33.15 ตารางเมตร

-          เลขานุการ1 คน/ห้อง
โต๊ะทำงาน 1 ชุด                      พื้นที่ 3 ตารางเมตร
ตู้เก็บเอกสาร 1 ตู้                  พื้นที่ 2.4 ตารางเมตร
พื้นที่รวม 5.4 ตารางเมตร
พื้นที่circulation 1.6 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ส่วนเลขานุการ           พื้นที่ 7 ตารางเมตร

-          ห้องหัวหน้าแผนก 1คน/ห้อง
โต๊ะทำงาน 1 ชุด                  พื้นที่ 5.5 ตารางเมตร
ตู้เก็บเอกสาร 1 ตู้                 พื้นที่ 8.4 ตารางเมตร
พื้นที่รวม 13.9 ตารางเมตร
พื้นที่circulation 4.17 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ห้องหัวหน้าแผนก พื้นที่ 18.07 ตารางเมตร


-              ห้องผลิตเอกสาร
   เครื่อง copy print 2 เครื่อง         พื้นที่ 4.352 ตารางเมตร
   ตู้เก็บเอกสาร 2 ตู้                          พื้นที่ 4.8 ตารางเมตร
   พื้นที่รวม 9.152 ตารางเมตร
   พื้นที่circulation 2.7456ตารางเมตร
   รวมพื้นที่ห้องผลิตเอกสาร 11.8976 ตารางเมตร

-    ส่วนทำงานพนักงาน ต่อ 1คน
โต๊ะทำงาน 1 ชุด                           พื้นที่ 5.5 ตารางเมตร
พื้นที่circulation 1.65 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ห้องหัวหน้าแผนก          พื้นที่ 7.15 ตารางเมตร

- ส่วนเก็บเอกสาร
ตู้เก็บเอกสาร 6 ตู้                         พื้นที่ 14.4 ตารางเมตร

- Pantry
Pantry                                       พื้นที่ 7.798 ตารางเมตร

- Meeting room
โต๊ะประชุม12 ที่นั่ง 1 ชุด              พื้นที่ 18.91 ตารางเมตร
พื้นที่circulation 5.673 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ห้องประชุม                     พื้นที่18.91 ตารางเมตร







2)   ส่วนวิจัย
นักวิจัย 1 คนใช้พื้นที่ 18-20 ตร.ม.                    ต่อ ผู้วิจัย 1 คน
มีนักวิจัยทั้งหมด                                                           36คน
รวมพื้นที่ห้องวิจัย                                   พื้นที่ 720 ตารางเมตร

3)   ส่วนห้องประชุมอเนกประสงค์(Auditorium)
-          ขนาด ห้องประชุมขนาดเล็ก ขนาด 35 – 750 คน

-          รูปแบบห้องประชุม (Auditorium Shape)
รูปแบบEnd Stage (เวทีปลายห้อง)
เป็นรูปแบบของเวทีในห้องประชุมทั่วๆไป คืออยู่ทางปลายด้านหนึ่งของรูปทรงห้องประชุม เป็นรูปทรงที่เหมาะที่สุดและสามารถควบคุมการดูและการรับฟังของผู้ชมได้ง่าย


4)   ส่วนที่จอดรถ

ตารางที่ 4. 3แสดง ความต้องการที่จอดรถของประเภทอาคาร ตามกฏหมาย
ประเภทอาคาร
ความต้องการที่จอดรถ
สำนักงาน
120 ตร.ม. / คัน
auditorium
40 ที่นั่ง / คัน
ร้านอาหาร
40 ตร.ม. / คัน
อาคารขนาดใหญ่
240 ตร.ม. / คัน

-          คิดจากพื้นที่รวมทั้งโครงการ
พื้นที่โครงการ (ยังไม่รวมพื้นที่จอดรถ)                                                                                            9,200 ตร.ม
จากลักษณะประเภทอาคารของโครงการเข้าข่ายอาคารขนาดใหญ่
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                                                9,200/240=38.33 ประมาณ 39 คัน

-    คิดแบบแยกส่วนตามแต่ละองค์ประกอบ
ส่วนสำนักงาน   มีพื้นที่                                                                                                                                                   617.5 ตร.ม.
จัดอยู่ในประเภทอาคาสำนักงาน กฎหมายกำหนดไว้ที่ 120 ตร.ม/ คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ              =617.5/120=5.14คันประมาณ 6 คัน

ส่วนวิจัย   มีพื้นที่                                                                                                                                                              958 ตร.ม.
จัดอยู่ในประเภทอาคาสำนักงาน กฎหมายกำหนดไว้ที่ 120 ตร.ม/ คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                =958/120=7.98คันประมาณ 8 คัน

ส่วนAuditorium   มีจำนวนที่นั่ง                                                                                                 174 ที่นั่ง.
จัดอยู่ในประเภท     Auditorium กฎหมายกำหนดไว้ที่   40 ที่นั่ง / คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                  =174/40=4.35คันประมาณ 5 คัน

ส่วนห้องอาหาร   มีพื้นที่                                                                                                                                   90 ตร.ม.
จัดอยู่ในประเภทอาคาสำนักงาน กฎหมายกำหนดไว้ที่ 40 ตร.ม/ คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                  =90/40=2.25คันประมาณ 3 คัน

ส่วนบริการโครงการ   มีพื้นที่                                                                                                               1230 ตร.ม.
จัดอยู่ในประเภทอาคาขนาดใหญ่ กฎหมายกำหนดไว้ที่ 240 ตร.ม/ คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                =1230/240=5.12คันประมาณ 6 คัน

ส่วนองค์ประกอบรองโครงการ   มีพื้นที่                                                                            1120 ตร.ม.
จัดอยู่ในประเภทอาคาขนาดใหญ่ กฎหมายกำหนดไว้ที่ 240 ตร.ม/ คัน
ดังนั้นจำนวนที่จอดรถ                =1120/240=4.66คันประมาณ 5 คัน

รวมจำนวนที่จอดรถผู้มาใช้บริการโครงการ                            33  คัน







ในการคำนวณพื้นที่ใช้สอยโครงการศูนย์วิจัย สามารถแยกคำนวณส่วนต่างของโครงการ ได้ดังนี้

1.ส่วนองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ส่วนวิจัย
2.ส่วนองค์ประกอบรอง  ได้แก่ ห้องสมุด ห้องauditorium
3.ส่วนสนับสนุนโครงการ ได้แก่  พื้นที่โซล่าเซล
4.ส่วนสาธารณะ   ได้แก่  ส่วนพื้นที่สีเขียว
5.ส่วนบริหารโครงการ ได้แก่ ส่วนสำนักงาน
6.ส่วนบริการโครงการ ได้แก่ ห้องอาหาร ห้องเครื่องต่างๆ
7.ส่วนที่จอดรถ

ตารางที่ 4. 4แสดงรายละเอียดพื้นที่โครงการศูนย์วิจัยบริษัทไทยออยล์
องค์ประกอบ
พื้นที่ใช้สอยสุทธิ (ตร.ม.)
พื้นที่สัญจร
พื้นที่รวม(ตร.ม.)
ที่มา
%
พื้นที่
1.ส่วนองค์ประกอบหลัก
1750
30
750
2500

2.ส่วนองค์ประกอบรอง 
672
40
448
1120

3.ส่วนสนับสนุนโครงการ
855
10
95
950

4.ส่วนสาธารณะ  
1140
40
760
1900

5.ส่วนบริหารโครงการ
1050
30
450
1500

6.ส่วนบริการโครงการ
861
30
369
1230

7.ส่วนที่จอดรถ
-
-
-
400

รวมพื้นที่โครงการ


9600

ที่มา: การคำนวณพื้นที่ต่างๆในแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
หมายเหตุ: A = Neufert Architect’s Data   B = Architect Time Saver Data  C = Case Study D = Area Analysis




4.2 รายละเอียดโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Needs)

ตารางที่ 4. 5แสดงรายละเอียดค่าก่อสร้างอาคาร
องค์ประกอบโครงการ
พื้นที่รวม(ตร.ม.)
ราคาก่อสร้าง(บาท/ตร.ม)
รวมค่าที่ดินและปรับปรุงที่ดิน/บาท
องค์ประกอบหลัก
2500
25,000
62,500,000
องค์ประกอบรอง
1120
25,000
28,000,000
ส่วนบริหาร
1500
15,000
22,500,000
ส่วนบริการ
1230
5,000
6,150,000
ส่วนที่จอดรถ
400
8,000
3,200,000
ส่วนพลังงาน
950
10,000
9,500,000
ส่วนพื้นที่สีเขียว
1900
15,000
28,500,000


รวม
160,350,000

ค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ดิน
ค่าที่ดิน 8.95 ไร่ (ที่ดินบริษัทไทยออยล์จำกัด มหาชน)                    0.00 บาท
ค่าปรับปรุงที่ดิน (550,000 บาท/ไร่)                                                                                                                                        4,922,500 บาท
รวมค่าที่ดินและปรับปรุงที่ดิน                                                                    4,922,500 บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น                                                                                                                                                                                165,272,500 บาท

4.3 รายละเอียดโครงการด้านเทคโนโลยี (Technology Needs)

4.3.1 พลังงานแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ได้ฟรีจากดวงอาทิตย์และมีการนำมาใช้ประโยชน์มาแต่สมัยโบราณ เช่นการตาก หรือ อบสินค้าเกษตร การทำให้น้ำอุ่น เป็นต้น ได้พยายามนำพลังงานแสงอาทิตย์มาทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลก เฉลี่ยประมาณ 4-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อตารางเมตรต่อวัน ถ้าเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานร้อยละ 15 แสดงว่าเซลล์แสงอาทิตย์ 1 ตารางเมตรสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 650 – 750 วัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประเทศไทยมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ 250 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน เราสามารถใช้พื้นที่ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 0.3 ของพื้นที่ประเทศไทย ก็จะผลิตไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการ

1)      การนำแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์
ซึ่งในโครงการนี้ ได้นำการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในโครงการในบางส่วน
-          เซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า  เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้คือ เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนแบบผลึกรวม (Polycrystalline
                               
เซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Polycrystalline Silicon มีรูปร่างเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 5 นิ้วขึ้นไป มีการพัฒนาการผลิตจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 14% มีราคาถูกกว่าแบบผลึกเดี่ยว อายุการใช้งานนานกว่า 20 ปี เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในขณะนี้

2)      การผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์
ส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสดงอาทิตย์ประกอบด้วย
-    Solar cell module เป็นการนำเซลล์มาต่อขนานกันเพื่อให้กระแสไฟฟ้ามาก หรืออนุกรมเพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น มักจะถูกออกแบบให้อยู่ในกรอบอลูมิเนียมสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า Photovoltaic Module เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งใช้งาน การติดตั้งแผงเซลล์ควรติดตั้งในที่โล่ง ไม่อยู่ใกล้ที่เกิดฝุ่น ควรตั้งเอียงประมาณ 10- 15 องศาจากแนวราบ โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือใต้

-    Charge controller เป็นอุปกรณ์ควบคุมการประจุไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ในช่วงกลางวัน แล้วนำไฟฟ้าไปใช้งานในช่วงเวลากลางคืน อาจมีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่นหยุดการประจุไฟฟ้าเมื่อแบตเตอรี่เต็ม หรือระบบจะตัดการจ่ายไฟเมื่อแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าที่ตั้งไว้ ระบบเปิดปิดอัตโนมัติ (เมื่อมีแสงอาทิตย์จะตัดสวิตช์) ระบบป้องกันความเสียหายเมื่อวงจรควบคุมมีอุณหภูมิสูง หรือมีหลอดไฟแสดงสถานะภาพการทำงานของระบบ

-    Inverter แปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับตามขนาดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการ มีทั้งแบบ Standalone แบบ Grid connected แบบ Grid connected with battery backup ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน โดยคำนึงถึงขนาดและประสิทธิภาพด้วย

-    Battery เป็นอุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงไว้ใช้ในเวลาที่ต้องการ เช่นในช่วงกลางคืน การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

3)      การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ใช้คือระบบ การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ  

4.3.2 ด้านเทคโนโลยีวัสดุอาคาร
1)      กระจกกันความร้อน
กระจกฮีตสต็อป เป็น
กระจกที่เน้นการใช้งานไปในด้านการประหยัดพลังงานภายในอาคารและการใช้งานสำหรับอาคารเฉพาะทาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ยอมให้แสงผ่านเข้ามาภายในอาคารมาก แต่ความร้อนที่ผ่านกระจกเข้ามาจะน้อยมาก จึงนิยมใช้ในอาคารที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลา

2)      ผนังอาคาร
ใช้ระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก ( Exterior Insulation and Finished System:EIFS) ประกอบด้วย ชั้นของวัสดุโครงสร้างผนัง วัสดุป้องกันความชื้น และโฟมหนาประมาณ 3 นิ้วเพื่อเป็นฉนวนป้องกันความร้อน
3)            เทคโนโลยี Green Roof
ในโครงการนี้เลือกประเภทของGreen Roof คือประเภท Extensive ซึ่งให้ความลึกของชั้นดินราว 10 ซม.เหมาะสำหรับปลูกพืชประเภทคลุมดิน ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมนั้น เช่น หญ้า สามารถปล่อยให้เจริญเติบโตเอง ต้องการดูแลง่าย อาจดูแลเพียงปีละ 1- 2 ครั้ง  รูปแบบนี้มีน้ำหนักน้อยทำให้โครงสร้างไม่รับน้ำหนักหลังคามากจนเกินไป และ ยังช่วยลดอุณภูมิตัวอาคาร กรองมลพิษ ลดคาร์บอน ลดแสงสะท้อน เป็นต้น สามารถรื้นถอนหรือเคลื่อนย้ายได้ภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น