วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3



บทที่ 3 แนวความคิดโครงการ

แนวความคิดโครงการ คือ การนำเสนอความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆภายในโครงการ โดยเป็นการกำหนดถึงการตอบสนองต่อความต้องการของโครงการที่เป็นไปได้ในการออกแบบ โดยเน้นถึงเหตุผลและความสำคัญที่ได้มาจากข้อเท็จจริง ซึ่งแนวความคิดในการออกแบบโครงการนั้นเป็นการกำหนดทิศทางของโครงการด้วยนามธรรมโดยโครงการหนึ่งๆอาจจะมีหลากหลายแนวความคิดโครงการได้ แล้วพิจารณาความสำคัญของแต่ละแนวความคิดโครงการ แล้วเลือกให้เหมาะสมกับโครงการมากที่สุด
             แนวความคิดโครงการจะเป็นการบรรยายในเชิงคุณภาพ กล่าวลักษณะ การจัดการ ความสัมพันธ์ และความเหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบภายในโครงการ
            โครงการศูนย์วิจัยบริษัทไทยออยล์นั้นเป็นโครงการทางด้านสถาบันศูนย์วิจัยทางด้านน้ำมันและผลิตภัณฑ์ขององค์กร  ซึ่งต้องสามารถนำเสนอตัวโครงการออกสู่ในระดับมาตราฐาน อีกทั้งความเป็นสถาบันวิจัยที่ความเกี่ยวข้องกับการวิจัยผลิตภัณฑ์ในเชิงการวิเคราะห์ คาดการณ์ ในเชิงแนวคิด ในเชิงการทดลอง ทั้งในการออกแบบ การประดิษฐ์และก่อสร้าง ประกอบกับข้อมูลสภาพแวดล้อม การพยากรณ์คาดการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นจึงมีผลต่อการวางแนวความคิดโครงการ ดังนี้

3.1 แนวความคิดของรูปลักษณ์ของโครงการ
ควรจะสื่อความเป็น ศูนย์วิจัย อย่างชัดเจน ในลักษณะที่สวยงาม น่าสนใจ สื่อความนำสมัยด้วยในทางเทคโนโลยี และเอกลักษณ์

3.2 แนวความคิดในการสร้างพื้นที่ว่างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี
เพื่อส่งเสริมทางด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ แนวความคิด เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร

3.3 แนวความคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมาใช้ในโครงการ
ตลอดจนโครงสร้างพิเศษที่ทันสมัยเข้ามาใช้ร่วมในการออกแบบโครงการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนสาธารณะ หรือส่วนวิจัย


3. 4 แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย
แนวความคิดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอยเป็นส่วนที่แสดงถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโครงการกับรูปแบบการใช้พื้นที่ โดยจัดได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ในหลายปัจจัยของข้อมูลพื้นฐาน ดังนั้นในการกาหนด แนวความคิดด้านนี้จึงแยกออกมาทีละองค์ประกอบโดยแทรกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในแต่ละองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน

3.5 แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์
แนวความคิดนี้เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอย และการสัญจรระหว่างแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ซึ่งเป็นการกำหนดแนวความคิดทั้งหมดของโครงการ โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบโครงการต้องมีความสัมพันธ์และมีความต่อเนื่องส่งเสริมให้เกิดความสมบูรณ์ในการใช้งาน และสามรถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โครงการได้  โดยโครงการศูนย์วิจัยนี้ จะแบ่งตามส่วนต่างๆของโครงการได้ดังนี้

3.5.1ส่วนต้อนรับโครงการ
เป็นส่วนที่ไว้สำหรับรับรองบุคคลที่มาศึกษาดูงานและลูกค้าที่มาติดต่อธุรกิจกับบริษัท ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ติดกับส่วนโถงและสามารถมองเห็นและสังเกตได้ง่าย

3.5.2ส่วนบริหารโครงการ
เป็นส่วนพื้นที่ของกลุ่มผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการ ได้แก่กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มพนักงาน โดยส่วนพื้นที่นี้จะแยกออกมาเป็นอีกส่วนขององค์ประกอบต่างๆของโครงการ โดยควรจะมีทางเข้าอีกส่วนหนึ่งเพื่อง่ายต่อการจำแนกประเภทผู้ใช้โครงการ

3.5.3ส่วนบริการอาคาร
เป็นส่วนที่มีความสำคัญกับโครงการเนื่องจากเป็นส่วนที่ดูแลบำรุงรักษาอาคาร และควบคุมงานระบบทุกประเภทของแต่ละองค์ประกอบโครงการ ดังนั้นส่วนบริการอาคารต้องมีเส้นทางบริการอาคารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกองค์ประกอบที่สาคัญ โดยไม่ร่วมใช้กับเส้นทางหลัก และเส้นทางรองของโครงการ และไม่ผ่านส่วนสาธารณะของโครงการ เพื่อแยกประเภทผู้ใช้โครงการให้ชัดเจน

3.5.4ส่วนวิจัยโครงการ
เป็นส่วนสำหรับพนักงานวิจัย ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และศูนย์วิจัยจะมีห้องวิจัยที่หลากหลาย เนื่องจากมีการวิจัยทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติที่จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน สามารถเข้าถึงได้โดยโถงทางเข้าของบุคคลภายในเท่านั้น สามารถเชื่อมต่อกับส่วนบริการต่างๆเพื่อสะดวกในการบริการ อำนวยความสะดวกในส่วนการวิจัยและทดลอง รวมถึงการจัดวางกลุ่มห้องทดลอง เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท และง่ายต่อการควบคุมดูแล

3.5.5ส่วนจอดรถ
ส่วนที่จอดรถของโครงการ ต้องสามารถเชื่อมต่อกับทางเข้าหลักของโครงการได้ และสามารถเข้าถึงส่วนบริการอาคารโดยง่าย เพื่อง่ายต่อการขนถ่ายสินค้า และการให้บริการอาคารด้านต่างๆ โดยแยกออกจากเส้นทางกลักของโครงการให้ชัดเจน
   
3.6.แนวความคิดด้านอาคารประหยัดพลังงาน
เป็นแนวความคิดหนึ่งที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมนั้นช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในด้านปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานนั้นมีปัจจัยหลายประการ ซึ่งทำให้อาคารนั้นแก้ไขปัญหาและควบคุมสภาวะธรรมชาติได้ ปัจจัยทั้งหมดนี้จะเป็นตัวช่วยลดใช้พลังงานภายในอาคารได้  ปัจจัยที่ส่งผลกับอาคารมีดังนี้

3.6.1.อุณหภูมิของอากาศ
ภาวะอุณหภูมิภายนอกอาคารที่ร้อนทำให้ กรอบอาคารนั้นกักเก็บความร้อน ซึ่งเกิดความร้อนที่แผ่เข้ามาภายในอาคาร แนวคิดในการลดความร้อนอุณหภูมิรอบอาคารนั้นคือ การนำต้นไม้ใหญ่และต้นไม้พุ่มมาทำให้อุณหภูมิรอบอาคารลดลง

3.6.2.การวางผังอาคาร
 การโคจรของดวงอาทิศมีผลกระทบกับการว่างอาคารอย่างมากซึ่งทำให้บางทิศของตำแหน่งอาคารบางส่วนนั้นได้รับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าทิศอื่น ซึ่งมีแนวความคิดดังนี้

- การวางตัวอาคารที่สอดคล้องกับการโคจรของดวงอาทิตย์เพื่อลดรังสีความร้อนในทิศตะวันออกและตะวันตก เช่น หันด้านแคบของอาคารไปทางทิศ
ตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์,

3.6.3.การเลือกใช้สีอาคาร
สีที่มีความอ่อนกว่าจะสามารถสะท้อนความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารได้ดีกว่าสีที่ เข้ม หากต้องการลดความร้อนในอาคาร ควรเลือกใช้สีที่อ่อน ๆ จะทำให้ใช่ลดความร้อนของอาคารอีกทางหนึ่ง

3.6.4.วัสดุอาคาร
เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น และมีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดปี ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการออกแบบ คือ การลดปริมาณความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร (Cooling Load) ดังนั้นเพื่อลดปริมาณความร้อนจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้ทำผนัง พื้น ภายนอกของอาคารที่เหมาะสม ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้



1)      คุณสมบัติทางด้านประหยัดพลังงานและการกันความชื้น
- มีความสามารถในการกันความร้อนได้ดี
- ไม่สะสมความร้อน
- มีความทนทานต่อการขยายตัว-หดตัวได้ดี เพื่อลดปัญหาการแตกร้าว ในกรณีที่ใช้กับภายนอก
- ไม่ดูดหรืออมความชื้น และกันน้ำได้ดี

2)      คุณสมบัติในการก่อสร้างและระบบเศรษฐกิจ
- มีน้ำหนักเบา
- มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง
- มีความสามารถต้านทานแรงลมและการสั่นสะเทือน
- หาง่าย และทำงานง่าย ราคาประหยัด
- ค่าบำรุงรักษาต่ำและมีความทนทานสูง

3)      คุณสมบัติทางด้านที่เกี่ยวกัสภาพแวดล้อม
- ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม
- มีความสวยงามและทนทาน
- มีอัตราการกันไฟสูงหรือไม่ติดไฟ

การเลือกวัสดุมาใช้ในภานในอาคารนั้น ให้มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วนนั้นเป็นเรื่องที่ยากและอาจมีราคาแพง ดังนั้นในการออกแบบอาคารที่เหมาะสมผู้ออกแบบจึงควรเลือกวัสดุต่างที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในงบประมาณที่จำกัด
3.7.ระบบอาคาร
3.7.1. ระบบโครงสร้างอาคาร
1)      ระบบโครงสร้าง POST TENSIONED
เป็นระบบแผ่นพื้นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบที่ประหยัดและก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว จะใช้ในส่วนของห้องวิจัย ส่วนสำนักงาน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องการความกว้างของพื้นที่ พอประมาณ ระยะห่างของเสา อยู่ในช่วงระยะห่าง 8 – 10 เมตร

2)      ระบบแบบ Curtain wall
ใช้ผนังกระจกในบางส่วนที่ต้องการแสงธรรมชาติ เช่น ส่วนสำนักงาน, ส่วนโถงต้องรับ และของทางเดินบางส่วน จึงเลือกใช้ระบบผนัง CURTAIN WALL กับกระจก

3)      ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเสาและคาน
เป็นระบบที่ก่อสร้างง่ายกว่าระบบ Post tension  และมีความประหยัดกว่า จึงนำมาใช้ในส่วนของ ห้องอาหารขอโครงการ และส่วนบริการบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ

4)      ระบบหลังคาแบบ Flat Slab
คล้ายคลึงกับโครงสร้างพื้น เพียงแต่ต้องมีวัสดุกันความร้อน และวัสดุกันความชื้น

3.7.2. ระบบอาคาร

1)   ระบบปรับอากาศ ระบบ VRV
เป็นระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split Type) ที่ชุดภายนอก(Outdoor Unit) 1 ชุดสามารถต่อเข้ากับชุดภายในได้หลายชุดโดยใช้คอมเพรสเซอร์เป็นตัวขับเคลื่อน ระบบVRVนี้ จะใช้ในส่วนบริหารโครงการ และ ส่วนองค์ประกอบหลัก

2)   ระบบประปา
ระบบจ่ายน้ำขึ้นเป็นระบบง่ายๆ นิยมใช้ตามอาคารที่มีความสูงไม่มาก อาคารไม่เกิน 4 ชั้น ระบบนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นการจ่ายตรงจากท่อประปาหลัก (direct feed up) และการจ่ายแบบผ่านปั๊มน้ำ (pump feed up)

3)   ระบบดับเพลิง
ใช้แบบระบบทั้ง Smoke Detector และ Heat Detector ซึ่งเมื่อเกิดเพลิงไหม้จะทำการแสดงผลไปยังห้องควบคุมเพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังระบบ Fire Detector System โดยระบบ Sprinkle ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ปรอทจะแตกและปล่อยน้ำออก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยที่ดี

4)   ระบบความปลอดภัย
อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ(Flame Detector) โดยปกติจะนำไปใช้ในบริเวณพื้นที่อันตราย และมีความเสี่ยงในการเกิดเหตุเพลิงไหม้สูง (Heat Area) เช่นคลังจ่ายน้ำมัน,โรงงานอุตสาหกรรม,บริเวณเก็บวัสดุที่เมื่อติดไปจะเกิดควันไม่มาก หรือ บริเวณที่ง่ายต่อการระเบิด หรือ ง่ายต่อการลุกลาม อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ ที่จะดักจับความถี่คลื่นแสง ส่วนแสงสว่างที่เกิดขึ้นจากหลอดไฟ และแสงอินฟราเรดจะไม่มีผลทำให้เกิดการตรวจจับความผิดพลาด(Fault Alarm)ได้

5)   ระบบน้ำเสีย
ระบบน้ำเสียแบบทั่วไปโดยแยกเป็นระบบน้ำเสียจากอ่างหน้า ระบบน้ำเสียจากท่อ  ระบบน้ำเสียจากห้องครัว และน้ำเสียจากการวิจัย โดยระบายมาตามท่อแนวนอน แล้วมารวมกันในท่อแนวตั้งแล้วจึงนำไปบำบัดก่อนปล่อยสู่ท่อน้ำเสียสาธารณะ โดยส่วนของน้ำเสียจากอ่างและห้องครัว จะเข้าอุปกรณ์ร่วมระบบระบายน้ำเสีย คือ ที่ดักกลิ่น ตะแกรงดักกลิ่น และที่ดักไขมันส่วนน้ำเสียจากการวิจัยจะบำบัดแยกจากส่วนของห้องครัวและอ่างล้างมือ

6)   ระบบไฟฟ้ากำลังแบบ Sub-station
เนื่องจากต้องการของกำลังไฟฟ้าสูง เพื่อความสะดวกสบายของโครงการในการจ่ายปริมาณไฟฟ้าจานวนมาก จึงจาเป็นต้องแยกหม้อแปลงไฟฟ้าออกมาต่างหาก โดยแยกส่วนเป็นของภายในโครงการจากระบบไฟฟ้าสาธารณะโดยทั่วไป

7)   ระบบแสงสว่างหลอดไฟ LEDสำหรับที่ทำงานและบริษัท (coperate and enterprise building)
เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท และยังได้ผลประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเพื่อกิจการในสำนักงาน  ซึ่งการให้แสงนั้นไม่เกิดการกระพริบทำให้พนักงานและอยู่ภายใต้สภาพแสงที่สบายมากขึ้นด้วย หลอดไฟ LED Tube T8 : เป็นประเภทหลอดไฟที่สามารถใช้ติดตั้งทดแทน หลอดไฟที่มีใช้กันอยู่ในโรงงาน สำนักงานต่างๆ และเป็นประเภทหลอดที่มีใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดประเภทหนึ่ง โดยอัตราการประหยัด เมื่อทดแทนหลอดไฟฟูออเรสเซ้นท์แบบเดิมจะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ราวๆ 50% และจะมีความคุ้มค่าคุ้มทุนต่อการเปลี่ยนหลอดไฟประเภทนี้ทดแทนได้เร็ว เมื่อมีการเปิดไฟต่อเนื่องประมาณ 10 ชั่วโมงเป็นต้นไป  ใช้ระบบแสงสว่างเฉพาะตำแหน่ง เป็นวิธีการให้แสงสว่างที่ประหยัดพลังงานที่สุด และเสริมสำหรับงานที่ต้องการปริมาณแสงในระดับสูงให้สำหรับผู้ปฏิบัติงานสูงหรือสายตาผิดปรกติ
8)   ระบบไฟฉุกเฉิน
-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบดีเซล เป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ คือ หลังจากที่ไฟฟ้าเมนดับระบบจะสตาร์ทเครื่องและมีสวิทซ์สับเปลี่ยนจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ

-ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินแบบแบตเตอร์รี่ จะถูกติดตั้งเพื่อให้แสงสว่างในระหว่างที่รอไฟจากเครื่องกาเนิดไฟฟ้า

9)   ระบบโซล่าเซลล์
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า  ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโครงการได้ส่วนหนึ่ง  ส่วนที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในโครงการนี้คือ ส่วนหลอดไฟในห้องน้ำที่ต้องเปิดหลอดไฟตลอด และส่วนบริการของโครงการ






3.7.3.ระบบเทคโนโลยีพิเศษ AUDITORIUM

1)   ระบบเสียง
ระบบเสียงใน AUDITORIUM เลือกใช้ระบบเสียง 2 ระบบ คือ
- CENTRALLY LOCATED SYSTEM
เป็นระบบการติดตั้งและให้เสียงจากด้านหน้าชมในตำแหน่งที่สูงเหนือแหล่งกำเนิดเสียง

- STEREOPHONIC SYSTEM
เป็นการติดตั้ งและให้เสียงจากลำโพง 2 กลุ่ม หรือ มากกว่านั้ นรอบๆ กรอบเวทีโดยการใช้งานหลายระบบผสม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ เสียงจากหลายตำแหน่งตามความเหมาะสมซึ่งจะให้ผลดีต่อการรับฟังมากกว่าการเลือกใช้ ระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบเดียว

2)   ระบบการระบายอากาศ
ระบบการหมุนเวียนอากาศภายใน AUDITORIUM เลือกใช้ระบบ DOWNWARD SYSTEM ซึ่ งระบบนี้การเป่าลมเย็นด้านบนและดูดอากาศออกด้านล่าง ระบบนี้ ห้องจะเย็นเร็ว การกระจายอากาศเร็วไม่ต้องเปิดทิ้ งไว้นานก่อนใช้ แต่ต้องมีการระบายอากาศฉุกเฉินอยู่ด้านบนเพื่อระบายควัน และความร้อนออกไป

3)   ระบบผนังกันเสียง
ระบบผนังกันเสียงประเภทผนังกันเสียงINHOMOGENEOUS เป็นวัสดุที่มีฟองข้างในใช้ HALLOWTILES ซึ่งมี ช่องอากาศอยู่ภายใน

4)   ระบบแสง
ระบบแสงใน AUDITORIUM หลักการในการจัดระบบแสงภายใน AUDITORIUM มี ดังนี้
- VISIBILITY ใช้เพื่อการมองเห็น
- MOTIVATION AND ATMOPHERE เพื่อผลทางจิตวิทยา เพื่อให้เกิดบรรยากาศ และอารมณ์ตามแนวความคิดของผู้ออกแบบ

-DECORATION เพื่อตกแต่งให้เกิดความงามและสุนทรียภาพ

 - SAFETY เพื่อความปลอดภัยในการป้องกันอุบัติเหตุจากสิ่งกีดขวาง

 - SYMBOLIC APPROACH เพื่อแสดงออกทางสัญลักษณ์ เช่น ป้าย , โฆษณา ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น